รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีธรรมชาติ (Natural Method)

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีธรรมชาติ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีธรรมชาติ (Natural Method)

เลิศบุษยา (https://www.gotoknow.org/posts/503050) ได้รวบรวมรูปแบบการการจัดการเรียนรู้วิธีธรรมชาติ  โดยกล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf  Method) ไว้ดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
           การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่
           รูดอล์ฟ  สไตเนอร์  ( Rudolf  Stiner ,  1861 – 1925 )  ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ ( Waldorf  School )  แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต  ประเทศเยอรมนี  เมื่อเดือนกันยายน  ค.ศ.  1919  โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี  สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์
           แนวคิดของสไตเนอร์ เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี
หลักการสอน
           หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์  3  ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน
           การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ เป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
           การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ  บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน
 บทบาทครู
           ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก  งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง  การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย  ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ
ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ  
1. การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้  
2. การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า  
3. ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง

          สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html  ได้กล่าวถึงหลักการจัดการศึกษา/การสอนโดยวิธีธรรมชาติไว้ ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ
2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
          3.1   ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
          3.2   ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
          3.3   ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
          3.4   ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน

4.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
        https://translate.google.co.th/translatehl=th&sl=en&u=https://en.wikipedia.org/wiki/Natural_approach&prev=search วิธีธรรมชาติ เป็นวิธีการในการเรียนการสอนภาษาที่พัฒนาโดยสตีเฟ่นคราและ  เทรซี่เทอร์เรในช่วงปลายปี 1970 และต้นปี 1980 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการยึดการพัฒนาทักษะภาษาในการตั้งค่าห้องเรียนและเพื่อการนี้จะเน้นการสื่อสารและสถานที่ลดลงความสำคัญกับการใส่ใจไวยากรณ์การศึกษาและการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ชัดเจนของนักเรียน ความพยายามที่จะทำยังเพื่อให้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นที่ปราศจากความเครียดที่เป็นไปได้ ในวิธีธรรมชาติเอาท์พุทภาษาไม่ได้บังคับ แต่ได้รับอนุญาตให้ออกมาเป็นธรรมชาติหลังจากที่นักเรียนได้เข้าร่วมจำนวนมากของการป้อนข้อมูลภาษาที่เข้าใจ
           วิธีธรรมชาติได้กลายเป็นที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับครารูปแบบการตรวจสอบและมันก็มักจะเห็นเป็นประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อการเรียนการสอนภาษา แม้จะมีการรับรู้นี้มีความแตกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองของเทอร์เร ว่าระดับของการศึกษาไวยากรณ์สติบางคนสามารถเป็นประโยชน์ หลักสูตรมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมที่   เทอร์เรเห็นว่าการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจิตใต้สำนึก เขาแบ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นสี่ส่วนหลักคือเนื้อหากิจกรรม เช่น การเรียนรู้เรื่องใหม่ในภาษาเป้าหมาย  กิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งภาษา เช่น นักเรียนแบ่งปันเพลงโปรดของพวกเขา เกม และกิจกรรมการแก้ปัญหา

           http://neric-club.com/data.php?page=48&menu_id=76 ได้กล่าวถึงวิธีธรรมชาติ ( Natural Method ) ไว้ดังนี้
          วิธีนี้ใช้วิธีสอนโดยให้ผู้เรียนพบปะคลุกคลีกับเจ้าของภาษาโดยตรง เป็นวิธีที่จะต้องลงทุนมาก เพราะจะต้องจ้างครูอังกฤษหรืออเมริกา หรือครูไทยที่พูดภาษาอังกฤษเก่ง ๆ มาสอน หรือส่งผู้เรียนไปยังประเทศเจ้าของภาษา การสอนใช้วิธีพูดเป็นหลัก และผู้สอนจะเน้นเรื่องคำศัพท์มาก โดยถือว่าการเรียนภาษานั้นคือการเรียนคำศัพท์ ถ้านักเรียนรู้จักคำศัพท์มากก็ถือว่านักเรียนคนนั้นรู้ภาษาดี ส่วนไวยากรณ์ที่เรียนนั้นก็เป็นแบบให้คำจำกัดความและกฎเกณฑ์ และเนื้อเรื่องที่เรียนก็มักจะยึดเอาเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นเกณฑ์ เช่น วันที่อากาศครึ้มฝนตก ครูมักจะคุยกับนักเรียนเรื่องฝนหรือเรื่องอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจอยู่ในขณะนั้น
           การเรียนด้วยวิธีนี้ ถ้าได้ครูที่มีความสามารถ นักเรียนจะเรียนภาษาใหม่ได้เร็ว และได้เปรียบวิธีสอนแบบอื่น ๆ ตรงที่ผู้เรียนได้มีโอกาสคลุกคลีกับภาษาอังกฤษโดยตรง
ข้อเสียของวิธีสอนแบบธรรมชาติ
1. เป็นวิธีที่ต้องลงทุนมาก
2. ครูมักจะเป็นผู้พูดเสียเองเป็นส่วนมาก ทำให้นักเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้ฝึก ถึงแม้จะพูดก็พูดไม่ได้ดีจริง และอาจจะพูดผิดไวยากรณ์ เพราะครูผู้สอนมักจะถือหลักว่าพูดพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้น ไม่ต้องถูกทั้งหมดก็ใช้ได้
3 เนื่องจากการสอนไม่ได้เน้นโครงสร้างของภาษา ไม่มีการคัดเลือกรูปแบบประโยค ( pattern ) มาสอนตามลำดับ และไม่ย้ำรูปแบบประโยครูปใดรูปหนึ่งมาทำการฝึกจนนักเรียนทำได้อย่างแม่นยำ จึงปรากฏว่านักเรียนไม่สามารถจะใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง

เลิศชาย ปานมุข http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2  ได้รวบรวมทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสตร์ ไว้ ทฤษฏีการสอนแบบธรรมชาติ (The Natural Approach) คือ การนำเรื่องราวของชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน มาเป็นสถานการณ์ประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากความพร้อมของสภาพการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติและธรรมชาติของการรับรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยให้นักเรียนทำการสรุป ทำความเข้าใจ หรือหยั่งรู้ให้เกิดสติปัญญาขึ้นมาได้เองและนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาใช้ให้เกิดการเรียนรู้ และประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาธรรมชาติด้วย แต่ครูผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆที่เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมหรือความรู้ที่นักเรียนเคยได้รับมาก่อน รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงธรรมชาติตามวัยของเด็กและความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย

สรุป
ทฤษฏีการสอนแบบธรรมชาติ (The Natural Approach)
เป็นการนำเรื่องราวของชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน มาเป็นสถานการณ์ประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากความพร้อมของสภาพการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติและธรรมชาติของการรับรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยให้นักเรียนทำการสรุป ทำความเข้าใจ หรือหยั่งรู้ให้เกิดสติปัญญาขึ้นมาได้เองและนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาใช้ให้เกิดการเรียนรู้ และประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาธรรมชาติด้วย แต่ครูผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆที่เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมหรือความรู้ที่นักเรียนเคยได้รับมาก่อน รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงธรรมชาติตามวัยของเด็กและความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
แนวคิดพื้นฐาน
                การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติบนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่
                แนวคิดของสไตเนอร์ เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี มักจะเห็นการประยุกต์วิธีนี้ในการสอนภาษา การสอนภาษาโดยวิธีธรรมชาติ ผู้เรียนจะได้คลุกคลีกับเจ้าของภาษโดยตรง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการยึดการพัฒนาทักษะภาษาที่เน้นการสื่อสารและลดความสำคัญกับการใส่ใจไวยากรณ์การศึกษาและการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ชัดเจนของนักเรียน ความพยายามที่จะทำยังเพื่อให้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นที่ปราศจากความเครียดที่เป็นไปได้ ในวิธีธรรมชาติ output ภาษาไม่ได้บังคับ แต่ได้รับอนุญาตให้ออกมาเป็นธรรมชาติหลังจากที่นักเรียนได้เข้าร่วมจำนวนมากของการป้อนข้อมูลภาษาที่เข้าใจ
วิธีจัดการเรียนการสอน
           เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ โดยสามารถจัดได้ดังนี้
          1. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ
          2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
          3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
                   3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
                   3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
                   3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
                   3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน

          4. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

ที่มา
เลิศบุษยา.[online]. https://www.gotoknow.org/posts/503050. การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ. สืบค้น                    เมื่อ 25 สิงหาคม 2561
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(2553).[online].http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550- 45.html . ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561
https://translate.google.co.th/translate?hl=th&sl=en&u=https://en.wikipedia.org/wiki/Natural_approach&prev=searchNatural Method .                  สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561.
สโมสรสร้างสรรค์ทางเลือกคนแนวใหม่. [online] http://neric-club.com/data.php?page=48&menu_id=76 .                การสอนวิธีธรรมชาติ .สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561.
เลิศชาย ปานมุข [online]. http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2.                       ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รูปแบบเทคนิควิธีการสอน

นวัตกรรม