นวัตกรรม

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
         1. ความหมายของนวัตกรรม
              1.1. นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า“นว” กับ “กรรม”ซึ่ง นว หมายถึง ใหม่ และ กรรม หมายถึง การกระทำ เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวตกรรม หรือว่า นวัตกรรม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน และสามารถแปลตรงตามความหมายก็คือ การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนั้นๆมากยิ่งขึ้น
         2. แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
             2.1. 1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
              2.2. 3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
         3. ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภท
               3.1. 1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
               3.2. 2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
               3.3. 3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
               3.4. 4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
               3.5. 5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
        4. ความหมายของเทคโนโลยี
               4.1. หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        5. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
                5.1. การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
         6. ประโยชน์ของเทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
                6.1. 2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
                6.2. 3. สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                6.3. 4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
                6.4. 5. สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
                6.5. 6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
         7. ความหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
                7.1. การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
         8. นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
                8.1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
                8.2. การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
                8.3. การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
                8.4. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
                8.5. การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
          9. ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
                9.1. 1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
                9.2. 2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
                9.3. 3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                9.4. 4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย
                9.5. 5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
                9.6. 6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
          10. ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
               10.1. 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
               10.2. 2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
               10.3. 3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
               10.4. 4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
               10.5. 5. ช่วยลดเวลาในการสอน
               10.6. 6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ที่่มา   warisa satthawanich 01/24/2018  https://www.mindmeister.com/1025171026/_[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561


นวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ทฤษฎีการเรียนรู้
             ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
นวัตกรรม
            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
              คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า“นวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
             ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
             ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
             นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
              นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
              สื่อการสอน ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น

               ประเภทสื่อการสอน

               1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
               1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
               1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
                2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
                3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

                 ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
                 บทบาทของสื่อการสอน คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย

สื่อการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่
           เรียนรู้เรื่องการคูณ ผ่านสื่อการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ ที่จะทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายนิดเดียว ไม่ว่าจะเป็น ความหมายการคูณ หรือโจทย์ปัญหาการคูณที่ว่ายากแสนยาก



                                        https://www.youtube.com/watch?v=3U7LqQ6HPbE


ที่มา http://kamonwan2259.blogspot.com/2015/08/blog-post.html[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561


นวัตกรรมการสอนคณิตศาสตร์

Cr Idea : อาจารย์ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์


คำชี้แจง : เวปไซด์นี้จัดทำเพื่อให้ครูคณิตศาตร์ ศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับนวัตรกรรมการสอนคณิตศาสตร์ " สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้เด็กเข้าใจมากกว่ารู้ สอนอย่างไรให้เด็กไม่เบื่อ สอนอย่างไรกระตุ้นกระบวนการคิดผู้เรียน " เรียนรู้ฟรี

บริการวิชาการ : วิทยากรพัฒนาครูคณิตศาสตร์ ประสบการณ์จัดอบรมครูในภาครัฐมากกว่า 100 ครั้ง

ติดต่อ : chanwi7@gmail.com
________________________________________
1. บทความ การสอนคณิตศาสตร์


http://kruechan6.blogspot.com/ คลิกที่นี่

________________________________________
2. กิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจ

http://kruechan.blogspot.com/ คลิกที่นี่
________________________________________
3. เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์แบบต่าง ๆ


3.1 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ผ่าน สุนทรียะสนทนา

http://gotoknow.org/blog/chanwi1/381927 คลิกที่นี่
3.2 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ผ่าน นิทาน

http://gotoknow.org/blog/chanwi3/381999 คลิกที่นี่
3.3 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ผ่านธรรมชาติรอบตัว

http://kruechan17.blogspot.com/

3.4 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ผ่านกิจวัตรประจำวัน


http://kruechan16.blogspot.com/
________________________________________


4. พัฒนาผู้เรียน เรียนรู้คณิตศาสตร์ช้า หรือ มีปัญหาด้านการเรียนรู้

http://kruechan2.blogspot.com/
________________________________________
5. รวมงานวิจัยคณิตศาสตร์

http://gotoknow.org/blog/chanwi4/382313 คลิกที่นี่
________________________________________
6. ชุดฝึก และ กิจกรรมที่น่าสนใจ


6.1 ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง แบบรูป (Pattern)


http://kruechan12.blogspot.com/ คลิกที่นี่
6.2 เกมพัฒนาทักษะ/กระบวนการคิด


http://kruchan10.blogspot.com/
6.3 ลับสมอง ลองปัญญา


http://kruechan19.blogspot.com/
8.4 โจทย์ปัญหา ฝึกคิดวิเคราะห์ ทางคณิตศาสตร์


http://kruechan5.blogspot.com/
8.5 ภาพส่งเสริมจินตนาการและการคิด


http://kruechan18.blogspot.com/



ที่มา  ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. https://www.gotoknow.org/posts/382216[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561

สรุป

              นวัตกรรม หรือ นวกรรม หมายถึง ใหม่ และ กรรม หมายถึง การกระทำ เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวตกรรม หรือว่า นวัตกรรม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน และสามารถแปลตรงตามความหมายก็คือ การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนั้นๆมากยิ่งขึ้น

              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ

นวัตกรรมทางคณิตศาสตร์



                                          https://www.youtube.com/watch?v=y2p2FJo4QD4



ที่มา
               ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. https://www.gotoknow.org/posts/382216[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561

              http://kamonwan2259.blogspot.com/2015/08/blog-post.html[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561
              warisa satthawanich 01/24/2018  https://www.mindmeister.com/1025171026/_[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีธรรมชาติ (Natural Method)

รูปแบบเทคนิควิธีการสอน